ระบบอินเตอร์เน็ต

  1. ความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต

            อินเตอร์เน็ต  (Internet) นั้นย่อมาจากคำว่า  “International network”  หรือ  “Inter Connection  network”  ซึ่งหมายถึง  เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าไว้ด้วยกัน  เพื่อให้เกิดการสื่อสาร  และการแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกัน  โดยอาศัยตัวเชื่อมเครือข่ายภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงเดียวกัน  นั่นก็คือ  TCP/IP Protocol  ซึ่งเป็นข้อกำหนดวิธีการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย  ซึ่งโปรโตคอลนี้จะช่วยให้คอมพิวเตอร์ที่มีฮาร์ดแวร์ที่แตกต่างกันสามารถติดต่อถึงกันได้
 
             การที่มีระบบอินเตอร์เน็ต ทำให้สามารถเคลื่อนย้ายข่าวสารข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ โดยไม่จำกัดระยะทาง  ส่งข้อมูลได้หลายรูปแบบ  ทั้งข้อความตัวหนังสือ ภาพ และ เสียง โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนับเป็นอภิระบบเครือข่ายที่ยิ่งใหญ่มาก มีเครื่องคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องทั่วโลกเชื่อมต่อกับระบบ ทำให้คนในโลกทุกชาติทุกภาษาสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ โดยไม่ต้องเดินทางไป โลกทั้งโลกเปรียบเสมือนเป็นบ้านหนึ่งที่ทุกคนในบ้านสามารถพูดคุยกันได้ตลอด 24 ชั่วโมง ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย แต่เกิดประโยชน์ต่อสังคมโลกปัจจุบันมาก
internet-1
ประวัติความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต
            เครือข่ายอินเตอร์เน็ตถือกำเนิดมาในยุคสงครามเย็น  ระหว่างสหรัฐกับรัฐเซีย ในปี ค.ศ. 1960   ซึ่งกระทรวงกลาโหมประเทศสหรัฐอเมริกาเห็นว่าระบบคอมพิวเตอร์สำหรับสั่งการต้องเป็นระบบเครือข่ายที่ใช้งานได้ตลอดเวลา  หากมีการโจมตีด้วยระเบิดปรมาณูที่เมืองใดเมืองหนึ่ง  ระบบคอมพิวเตอร์บางส่วนอาจถูกทำลาย  แต่ส่วนที่เหลือทำงานได้  เป้าหมายการวิจัยและการพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ดังกล่าวจึงกลายเป็นโครงการชื่อ ARPAnet หรือ Advance Research Project Agency net โดยมอบหมายให้กลุ่มมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ทำการวิจัยและเชื่อมโยงเครือข่าย
 
           ในปี ค.ศ.  1983  ได้มีการนำ  TCP/IP Protocol หรือ Transmission Control Protocol  มาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเป็นครั้งแรก  จนกรทั่งได้กลายเป็นมาตรฐานในการติดต่อในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมาจนถึงปัจจุบัน
 
           ในปี  ค.ศ.  1986  มีการกำหนดชื่อโดเมน  (Domain name System)  เพื่อสร้างฐานข้อมูลในแต่ละเครือข่าย  และใช้  ISP  (Internet Service Provider)  ในการจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง
 
            ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ทั่วโลกล้วนแต่เชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและสามารถติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้อย่างกว้างขวางและทั่วถึงกว่าเดิม

2. การเชื่อมต่อกับเครือข่าย

            1. แบบดาว (Star Topology) เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต่อผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า ฮับ ( Hub ) ซึ่งเป็นจุดกลางในการติดต่อ เป็นเครือข่ายที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบันเพราะติดตั้งและ ดูแลรักษาระบบง่าย ราคาวัสดุอุปกรณ์ก็ไม่แพง ข้อดีคือ เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งมีปัญหา จะไม่ส่งผลกระทบต่อเครื่องอื่นๆ ในเครือข่าย ข้อเสีย ถ้า Hub เสียจะใช้งานไม่ได้ทั้งระบบ ใช้สายสัญญาณติดตั้งมากกว่าแบบอื่น
             2. แบบวงแหวน (Ring Topology)เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องเชื่อมต่อกันเป็นลักษณะแบบวงแหวน ข้อดี คือ สามารถเชื่อมได้ระยะทางที่ไกลกว่าแบบอื่นๆ ข้อเสียคือ ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมีปัญหา จะทำให้ระบบหยุดการทำงาน
           3. แบบบัส (Bus Topology) เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องต่อเชื่อมอยู่บนสายสัญญาณเดียวกัน เป็นการเชื่อมต่อสายแบบเส้นตรง จากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรก แล้วโยงสายไปยังเครื่องที่ 2 3 … ตามลำดับในลักษณะการต่อแบบอนุกรม การเชื่อมแบบนี้ทำได้ง่าย แต่มีข้อเสีย คือ ถ้ามีปัญหาที่สายสัญญาณเส้นใดเส้นหนึ่ง จะส่งผลกระทบต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย
           4. แบบผสมผสาน (Hybrid) เป็นการเชื่อมต่อที่เอาแบบดาว แบบวงแหวนและแบบบัส มาผสมผสานกัน เพื่อลดจุดอ่อนและเพิ่มจุดเด่นให้กับระบบเครือข่าย

3. การเชื่อมต่อกับโทรศัพท์บ้าน

           พัฒนาของการไมโครโปรเซสเซอร์เป็นต้นเหตุของการพัฒนาผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ตามมาอีกมากมาย ปี พ.ศ. 2539 นี้เป็นปีที่อายุการพัฒนาไมโครโปรเซสเซอร์ครบรอบ 25 ปีแล้ว การพัฒนาไมโครโปรเซสเซอร์ครบรอบ 25 ปีแล้ว การพัฒนาไมโครโปรเซสเซอร์ทำให้มีการสร้างพีซีและเป็นต้นเหตุของการใช้ไมโครคอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลาย และเมื่ออินเทลพัฒนาซีพียูตระกูล 86 ที่เป็นรายฐานของพีซีในตระกูลของอินเทลเป็นเส้นทางที่ยาวนาน และยังยาวไกลที่จะทำให้มีสิ่งต่าง ๆ อีกมากมายขณะที่พีซีแพร่หลายและมีขีดความสามารถสูงขึ้น พัฒนาการทางด้านสื่อสารก็เริ่มขึ้น พัฒนาการทางด้านสื่อสารก็เริ่มขึ้น มีการพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสาร จนทำให้คอมพิวเตอร์จำนวนมากเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายเดียวกัน รับส่งข้อมูลถึงกัน การเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งที่เครื่องพีซีทุกวันนี้จะไม่โดดเดี่ยวแบบสแตนอโลนพีซี แต่จะใช้งานร่วมกันมัลติมีเดียเป็นเทคโนโลยีที่สนองตอบความต้องการของผู้ใช้พีซีในปัจจุบันจึงต้องมีระบบเสียง ระบบภาพ และยังมีระบบเก็บข้อมูลจำนวนมาก ทั้งที่เป็นฮาร์ดดิสค์และซีดีตลอดจนการเชื่อมต่อแบบ LAN และโมเด็มมัลติมีเดียพีซีจึงเป็นพีซีเป็นพื้นฐานที่ผู้ซื้อพีซีปัจจุบันเลือกหา และเป็นมาตรฐานของพีซีต่อไปเมื่อพีซีได้พัฒนามาถึงจุดนี้ ระบบสื่อสารพัฒนาตามมา ระบบโทรศัพท์ก็พัฒนามาเป็นระบบโทรศัพท์ดิจิตอล การเชื่อมโยงและรวมเทคโนโลยีของการใช้งานคอมพิวเตอร์พีซี มัลติมีเดีย ระบบสื่อสาร โทรศัพท์จึงเป็นเป้าหมายที่รวมกันเข้าเป็นระบบเดียวและมีแนวโน้มที่เป็นจริง โทรศัพท์คอมพิวเตอร์ เป็นเป้าหมายที่สำคัญที่นับว่าเป็นก้าวที่สำคัญ

CTI เป็นเทคโนโลยีที่กำลังมาแรง

          CTI เป็นคำย่อมาจาก Computer Telephony Integration คือการรวมเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กับโทรศัพท์เข้าด้วยกัน ลองจินตนาการดูว่าเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีเครื่องคอมพิวเตอร์ต่ออยู่หลายล้านเครื่อง เครือข่ายโทรศัพท์มีพื้นที่ใหญ่กว่าอินเทอร์เน็ตมากมายนัก ปัจจุบันมีโทรศัพท์ต่อเชื่อมเข้าบ้านประมาณมากกว่า 500 ล้านเครื่อง เครือข่ายโทรศัพท์จึงเป็นเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในโลกเป็นเครือข่ายที่มีผู้ใช้กันมากมาย และมีความจำเป็นอย่างมากต่อระบบสื่อสาร

         แนวคิดของ CTI ก็คือ ต้องการทำให้เครื่องรับปลายทางที่ทุกบ้านใช้กลายเป็นพีซีและพีซีทุกเครื่องก็จะกลายเป็นโทรศัพท์ โดยพีซีจะกลายเป็น call center หรือสถานีโทรศัพท์ มีรหัสหมายเลขโทรศัพท์ที่เรียกว่า call id การติดต่อสื่อสารระหว่างกันจึงใช้รหัสเช่นเดียวกับที่เราใช้ การใช้พีซีมีข้อดีเพราะพีซีมีซีพียูที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาพีซีจึงต้องเพิ่มเติมฟังก์ชันการทำงานที่เรียกว่า หน่วยตอบสนองเสียง หรือ VRU Voice Response Unit การใช้งานพีซีเป็นโทรศัพท์ย่อมง่ายกว่าการใช้โทรศัพท์ เพราะพีซีมีระบบอัจฉริยะภายในตัวที่ทำให้การทำงานแบบอัตโนมัติ การรับส่งข้อความเสียงการประมวลผลเสียง และในอนาคตก็คงรวมการรับส่งภาพ กลายเป็นวีดีโอโฟน และวีดีโอคอนเฟอเรนซ์ที่พูดโต้ตอบเห็นหน้าตากันด้วยสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มีแนวโน้มที่เป็นไปได้และอีกไม่นานนักคงได้พบเห็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารเป็นไปในลักษณะที่เชื่อมโยงกัน ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตคงเห็นได้ชัดเราใช้โมเด็มความเร็ว 28,800 บิตต่อวินาทีเรียกหาข้อมูลมีเครือข่าย WWW-World Wide Web การโอนย้ายข้อมูลแบบมัลติมีเดียทำให้ระบบคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงข้อมูลได้ทั้งภาพเสียงและ วีดีโอ สิ่งเหล่านี้เองเป็นเครื่องยืนยันว่าการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์กับโทรศัพท์เป็นเรื่องที่เป็นไปได้

โมเดลของ CTI

          เพื่อใช้เป็นที่อ้างอิง และเป็นสิ่งที่ผู้พัฒนาได้พัฒนาตามรูปแบบโมเดลอ้างอิง เพื่อเป็นมาตรฐานกลาง มาตรฐานของ CTI จึงเป็นมาตรฐานที่บริษัทชั้นนำต่างๆ กำลังพัฒนาเพื่อว่าระบบเครือข่าย CTI จะเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงถึงกันได้ทั่วโลก โมเดลอ้างอิงที่ใช้แสดงดังรูปที่ 1

           โมเดลอ้างอิงนี้แบ่งออกเป็นสามส่วนโดยที่ปลายทางด้านหนึ่งมีพีซีเป็นเทอร์มินัลหรือทำหน้าที่เป็นสถานีปลายทางสำหรับรับส่งเสียง (Voice terminal) อีกปลายด้านหนึ่งเป็นเครือข่าย หรือสวิตชิง โดยมีส่วนเชื่อมโยงทำหน้าที่เชื่อมโยงพีซีกับเครือข่ายเข้าด้วยกัน พีซีทำงานในฟังก์ชันที่เป็นเทอร์มินัลของเสียงประกอบด้วยอินพุตเสียงและเอาต์พุตเสียงอินพุตจึงรับสัญญาณเสียงจากไมโครโฟนและเอาต์พุตเป็นลำโพงที่เชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่ายผ่านส่วนเชื่อมต่อที่เรียกว่า ส่วนการ connection ส่วนนี้มีการเชื่อมโยงได้หลายแบบ เช่น ถ้าเป็นพีซีธรรมดาและเชื่อมเข้าเครือข่ายโทรศัพท์ทั่วไป ก็เชื่อมต่อผ่านโมเด็ม และถ้าพีซีต่ออยู่กับ LAN ส่วนเชื่อมต่อก็เป็น LAN และสามารถเชื่อมต่อเข้ากับ PABX หรือ PBX คือชุมสายโทรศัพท์ย่อยขององค์กร โมเดลอ้างอิงนี้จึงเขียนใหม่ได้ดังรูปที่ 2

อินเทอร์เน็ตก็ต้องรวมกับระบบโทรศัพท์

             เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเติบโตเร็วมากมีแนวโน้มของการเชื่อมโยงพีซีทั้งหมดเข้าด้วยกัน ขณะเดียวกันผู้ประยุกต์งานทางด้านมัลติมีเดียก็มีมากเช่นกัน หากใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีความเร็วสูงขึ้น การประยุกต์ทางด้านเสียง ภาพ และวีดีโอ คงไปไกลกว่านี้แล้วบนอินเทอร์เน็ตมีการประยุกต์เป็นโทรศัพท์เช่น iphone หรืออินเทอร์เน็ตโฟน มี CUCMEE คือโปรแกรมวีดีโอคอนเฟอเรนซ์ การประยุกต์ในเรื่องสื่อสารบนอินเทอร์เน็ตมีโมเดลเช่นเดียวกับ CTI เช่นกัน

          การสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อการสื่อสารข้อมูลแบ่งเป็นระดับย่อยตามโมเดล OSI ได้ 7 ระดับ ระดับบนเป็นเรื่องของการประยุกต์ที่สามารถประยุกต์งานต่าง ๆ บนเครือข่ายได้มาก การประยุกต์งานทางด้านการสื่อสารทางเสียงจึงเป็นอีกงานหนึ่งที่ทำให้เกิดขึ้นได้ไม่ยาก หากมองลึกลงไปพบว่า เสียงพูดในระบบโทรศัพท์เป็นสัญญาณดิจิตอลได้เช่นกัน ระบบสัญญาณดิจิตอลทางเสียงตามหลักการโทรศัพท์ก็ใช้ข้อมูลความเร็วขนาด 64 กิโลบิตต่อวินาที แต่เมื่อการประมวลผลดีขึ้นมีการบีบอัดสัญญาณเสียงด้วยเทคนิคที่ดีขึ้นจนสามารถบีบอัดสัญญาณเสียงให้เล็กลงมาเหลือเพียงประมาณ 16 กิโลบิตต่อวินาทีได้การประยุกต์ด้วยสัญญาณเสียงทางโทรศัพท์บนเครือข่ายจึงเป็นหนทางที่แจ่มชัดขึ้นเรื่อย ๆ

พัฒนาการซอฟต์แวร์บนวินโดวส์ เตรียมรองรับแล้ว

         ผู้ผลิตโอเอสหลักทุกรายต่างพัฒนาช่องสำหรับขยายส่วนการเชื่อมโยงนี้ไว้แล้วไมโครซอฟต์ผู้พัฒนาวินโดวส์และไอบีเอ็มผู้พัฒนาโอเอสทู ต่างมีฟังก์ชันการทำงานเตรียมพร้อมสำหรับการเชื่อมต่อกับโทรศัพท์ไว้แล้วฟังก์ชันการทำงานที่สำคัญ คือ call processing ซึ่งเป็นฟังก์ชันการเรียกเข้าเครือข่ายเพื่อการเชื่อมโยง การควบคุมการติดต่อการและเชื่อมโยงการส่งสัญญาณระหว่างกัน กับอีกส่วนหนึ่งคือ media processing เป็นเรื่องของการให้ข้อมูลวิ่งผ่านไปยังเครือข่ายผ่านตัวกลางต่าง ๆเพื่อให้การทำงานระบบคอมพิวเตอร์มีสิ่งที่เหนือกว่าโทรศัพท์ทั่วไป พีซีมีโปรแกรมต่าง ๆ ที่เก็บไว้ได้ จึงสามารถสร้างฟังก์ชันพิเศษสำหรับการทำงานได้อีกมากมาย เช่น การโอนหมายเลข การประมวลผลร่วมกับฐานข้อมมูล การรับเมล์เสียง การพูดคุยมากกว่าหนึ่งคน การประชุมกลุ่ม ฯล ฯ ฟังก์ชันเหล่านี้เป็นฟังก์ชันทางซอฟต์แวร์ที่ต้องพัฒนาและการวางให้เป็นมาตรฐานสากล เพื่อว่าระบบการเชื่อมโยงทั้งหมดเป็นมาตรฐานเดียวกันอย่างสมบูรณ์ผู้พัฒนาบนวินโดวส์จึงสร้างส่วนเชื่อมต่อที่เรียกว่า API Application Program Interface เพื่อรองรับ ส่วนเชื่อมต่อนี้มีชื่อว่า TAPI-Telephone API ฟังก์ชันการเชื่อมต่อกับโทรศัพท์นี้ได้พัฒนาไปไกลแล้ว โดยอยู่ระหว่างการทดลองและหาแนวทางในการเชื่อมต่อรับระบบมาตรฐานต่าง ๆ ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ที่จะเชื่อมต่อกับระบบโทรศัพท์ก็กำลังดำเนินการเพื่อให้ระบบเครือข่ายโทรศัพท์ PABX และ PBX เชื่อมต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้ โครงสร้างของ TAPI แสดงดังรูปที่ 4

           โมเดลที่อ้างถึงเป็นการมองแบบกว้างซึ่งการเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายคอมพิวเตอร์เช่น TCP/IP ก็เป็นรูปแบบหนึ่ง นั่นหมายถึงผู้ใช้บนเครือข่ายนี้เช่นกำลังใช้เน็ตสเคป ก็อาจมีเสียงริงกิงบอกว่ามีผู้ต้องการโทรศัพท์ติดต่อด้วย ผู้ใช้อาจใช้เม้าส์คลิ๊กเพื่อรับสายบนจอวินโดวส์ของเน็ตสเคป เพื่อพูดตอบโต้ทางโทรศัพท์ กรณีตัวอย่างนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อโปรแกรมเน็ตสเคปเป็นโปรแกรมประยุกต์ได้พัฒนาฟังก์ชันนี้ไว้ และเชื่อมต่อกับ TAPI เพื่อเข้าสู่ระบบสากลบนเครือข่าย TCP/IP

คอมพิวเตอร์โทรศัพท์จะเข้ามาแทนเครื่องโทรศัพท์ที่บ้าน?

         การใช้พีซีดังที่กล่าวมาแล้วเน้นที่พีซีต่ออยู่บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ต่อเชื่อมกับเครือข่ายโทรศัพท์วิธีการนี้เป็นเพียงแนวทางหนึ่งเท่านั้นผู้พัฒนาเครือข่ายโทรศัพท์คงต้องเดินหน้าต่อไป โดยเฉพาะการเปลี่ยนเครื่องโทรศัพท์ที่บ้านให้เป็นคอมพิวเตอร์ รูปแบบของการใช้คอมพิวเตอร์เป็นโทรศัพท์ แสดงดังรูปที่ 5

          ด้วยขนาดของมาตรฐานของ V.34 ที่เพิ่มเติมขีดความสามารถการรับสัญญาณบางส่วนก็พอเพียงที่จะทำให้โทรศัพท์ที่ใช้พีซีแทนได้ การรับส่งสัญญาณรับส่งได้ทั้งสัญญาณเสียงและข้อมูล โมเดลของโมเด็มที่ใช้ในการเชื่อมโยงเครือข่าย แสดงดังรูปที่ 6

          การเชื่อมโยงโทรศัพท์ดังรูปที่ 6 ต้องการการ์ดอินเตอร์เฟส การ์ดอินเตอร์เฟสนี้ต้องรองรับซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นมาและเชื่อมกับชุมสาย มีระบบสัญญาณเรียกขานตามมาตรฐานกลางที่รับรู้กันได้ มาตรฐานของสัญญาณเรียกขานนี้กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา ซึ่งคาดว่าอีกไม่นานระบบนี้จะได้รับการประยุกต์ใช้การที่ใช้พีซีช่วยเพราะพีซีมีฟังก์ชันการทำงานได้อีกมาก และสามารถเพิ่มขีดความสามารถการติดต่อบนเครือข่ายได้ดี จะมีผู้พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ให้ใช้ได้มาก

ในที่สุดเครือข่ายโทรศัพท์และคอมพิวเตอร์ก็รวมกัน

           เป้าหมายของการพัฒนาอยู่ที่ต้องทำเครือข่ายคอมพิวเตอร์และเครือข่ายโทรศัพท์เชื่อมโยงกันให้ได้ การเชื่อมโยงกันนี้ไม่เพียงแต่เชื่อมโยงในระดับฟิสิคัลเท่านั้น แต่ต้องให้ทำงานร่วมกันได้อย่างเป็นเนื้อเดียวกันความหมายของการเชื่อมโยงนี้คือ ผู้ใช้เครื่องโทรศัพท์ที่หนึ่ง สามารถหมุนเลขหมายไปยังพีซีที่ต่ออยู่บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์เช่นอินเทอร์เน็ต และโต้ตอบกันได้ เช่นเดียวกันผู้ใช้พีซีก็สามารถเรียกหาเข้าสู่โทรศัพท์หรือพูดคุยกันได้เช่นเดียวกัน รูปแบบการเชื่อมโยงเครือข่ายทั้งสองเข้ากับโทรศัพท์เป็นดังรูปที่ 7

          การเชื่อมโยงเครือข่ายทั้งสองเข้าด้วยกันนี้ทำให้ระบบสื่อสารที่จะเกิดขึ้นเป็นเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุด การสื่อสารระหว่างกันคงก้าวหน้าขึ้นไป การเชื่อมโยงระหว่างกันในระดับเสียงเป็นเพียงขั้นต้น เพราะเป้าหมายสุดท้ายคือการเชื่อมโยงแบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์หรือเมื่อพูดก็มองเห็นหน้ากันไปด้วย เป้าหมายนี้ไม่ไกลเกินไปแล้ว

 

(ออนไลน์ : https://web.ku.ac.th)
(ออนไลน์ : http://www.chaiwbi.com)
(ออนไลน์ : http://computer.bcnnv.ac.th)